วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557

Agoraphobia

[Agoraphobia] "โรคกลัวที่ชุมชน"


โรคกลัวที่ชุมชนคือภาวะที่บุคคลมีอาการวิตกกังวลในสิ่งแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคยหรือรู้สึกว่าตนเองควบคุมได้น้อย สิ่งเร้าสำหรับอาการวิตกกังวลนี้ได้แก่ ฝูงชน ที่โล่งแจ้ง หรือการเดินทาง (แม้ระยะทางสั้นๆ) อาการวิตกกังวลนี้มักจะประกอบด้วยความกลัวการขายหน้าต่อประชุมชน เพราะโรคกลัวที่ชุมชนเป็นอาการนำของอาการตื่นตระหนกที่ทำให้ผู้ป่วยคลุ้มคลั่งต่อหน้าผู้อื่น
ผู้ที่มีโรคกลัวที่ชุมชนจะมีอาการตื่นตระหนกในสถานการณ์ที่ตนเองอึดอัด รู้สึกไม่ปลอดภัย ควบคุมไม่ได้ หรือห่างไกลจากสิ่งที่สามารถช่วยเหลือเขาได้ ผู้ป่วยจากโรคกลัวที่ชุมชนจึงมักหลีกเลี่ยงสถานที่สาธารณะหรือสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย ในผู้ป่วยที่อาการรุนแรงอาจหมกตัวอยู่ในบ้านและไม่กล้าออกจากสถานที่ที่คิดว่าปลอดภัย


นรายที่มีอาการมากจะอยู่แต่กับบ้านไม่ออกไปไหนเป็นปีๆ ผู้มีอาการจำนวนมากชอบที่จะมีผู้มาเยี่ยมอยู่ในบริเวณที่พวกเขาควบคุมได้และชอบที่จะทำงานในที่ๆรู้สึกว่าปลอดภัย ถ้าผู้กลัวที่โล่งออกไปจากเขตปลอดภัยของตน อาจจะเกิดอาการตื่นตระหนกได้

วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

heat stroke

[heat stroke] "โรคลมแดด"


โรคฮีทสโตรก หรือ โรคลมแดด เป็นโรคที่เกิดจากการที่ร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไปจนทำให้ความร้อนในร่างกาย สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส
อาการที่เบื้องต้น ได้แก่ เมื่อยล้า อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน วิตกกังวล สับสน ปวดศรีษะ ความดันต่ำ หน้ามืด ไวต่อสิ่งเร้าง่าย และยังอาจมีผลต่อระบบไหลเวียน ซึ่งอาจมีอาการเพิ่มเติมอีก ได้แก่ ภาวะขาดเหงื่อ เพ้อ ชัก ไม่รู้สึกตัว ไตล้มเหลว มีการตายของเซลล์ตับ หายใจเร็ว มีการบวมบริเวณปอดจากการคั่งของของเหลว หัวใจเต้นผิดจังหวะ การสลายกล้ามเนื้อลาย ช็อค และเกิดการสะสมของ fibrin จนไปอุดตันหลอดเลือดขนาดเล็กทำให้อวัยวะต่างๆ ล้มเหลว ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้เสียชีวิตได้

สาเหตุการเกิดโรคออกเป็น ประเภท คือ
     - Classical Heat Stroke เกิดจากความร้อนในสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่มีมากเกินไปส่วนใหญ่เกิดในช่วงที่มีอากาศร้อน พบบ่อยในผู้ที่มีอายุมากและมีโรคเรื้อรัง มักเกี่ยวกับความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง อาการที่สำคัญ คือ อุณหภุมิร่างกายสูง ไม่มีเหงื่อ 
     - Exertional Heat Stroke เกิดจากการออกกำลังที่หักโหมเกินไป มักจะเกิดในหน้าร้อนโดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้แรงงานและนักกรีฑา อาการคล้ายกับ Classical แต่ต่างตรงที่กลุ่มผู้ป่วยประเภทนี้จะมีเหงื่อออก นอกจากนี้ยังพบการเกิดการสลายเซลล์กล้ามเนื้อลาย โดยจะมีอาการแทรกซ้อน ได้แก่ ระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง ระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูง ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ และพบไมโอโกลบินในปัสสาวะด้วย

วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557

sleep Terrors (night terrors)

[sleep terrors] "ฝันผวา"


มีลักษณะคล้ายฝันร้าย (nightmares) แต่ร่วมด้วยพฤติกรรมหรือปฏิกิริยาที่รุนแรงโดยไม่รู้ตัว และจำความฝันหรือพฤติกรรมของตนเองไม่ได้ หรือจำได้อย่างเลือนราง เพราะฝันผวานี้เกิดในขณะหลับสนิท ฝันผวาจึงต่างกับฝันร้าย เพราะเกิดในช่วงการหลับที่ต่างกัน ผู้ที่ฝันผวาจะตื่นขึ้นอย่างกะทันหัน ร้องไห้สะอึกสะอื้น แม้พ่อแม่หรือผู้ใกล้ชิดจะถามว่าเรื่องอะไรหรือปลอบโยนให้หยุดร้องไห้ ในบางครั้งผู้ที่ฝันผวาอาจจะส่งเสียงตะโกน หรือกรีดร้อง แสดงอาการตกใจกลัวอย่างมาก ถ้าใครไปเหนี่ยวรั้งหรือยึดตัวไว้ เขาอาจจะต่อสู้และทำร้ายคนที่พยายามช่วยเขาได้
       ในขณะที่ฝันผวา มักมีอาการหายใจเร็ว หรือหอบ หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อแตก และแสดงอาการสับสน (หลงหรือเลอะเลือน) ยิ่งมีอาการอยู่นาน ยิ่งสังเกตเห็นอาการสับสนได้ชัดขึ้น หลังอาการฝันผวา มักจะหลับต่อไป ถ้าไม่มีอันตราย (อุบัติเหตุ) ร้ายแรงเกิดขึ้น และเมื่อตื่นขึ้นจะจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะที่ฝันผวาไม่ได้ โดยเฉพาะถ้าเป็นเด็ก หรืออาจจำเหตุการณ์ได้น้อย อาจจำได้เฉพาะสิ่งที่ทำให้ตกใจกลัวอย่างมากเท่านั้น
       อาการฝันผวา เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ไม่ใช่สิ่งผิดปกติ ยกเว้นถ้ามันเกิดขึ้นบ่อย หรือทำให้เกิดอันตรายแก่ตนเองหรือคนรอบข้าง บางครั้งอาจเกิดจากกรรมพันธุ์ ปัญหาทางจิตใจ โดยเฉพาะการเก็บกดความไม่พอใจไว้ หรืออื่นๆ

วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557

cluster headache

[cluster headache] "โรคปวดศีรษะคลัสเตอร์"

ปวดศีรษะคลัสเตอร์ คือ อาการปวดศีรษะไม่ร้ายแรงแบบหนึ่ง มีลักษณะสำคัญคือ จะมีอาการปวดศีรษะ  เป็นชุดๆ (Cluster) คือ จะมีอาการปวดศีรษะแต่ละครั้งนานประมาณ 1 ชั่ว โมง เป็นเวลาเดิมๆของทุกวัน และเป็นติดต่อกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง เช่น 1-2 สัปดาห์ แต่ก็มีบางกรณีเป็นนานหลายสัปดาห์ถึงหลายเดือนอาการปวดศีรษะจะปวดตุ๊บๆบริเวณขมับ เบ้าตา ด้านใด ด้านหนึ่ง ความรุนแรงจะรุนแรงมากๆ จนทรมานหรือต้องหยุดทำกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ ร่วม กับมีอาการน้ำตาไหล น้ำมูกไหล ลืมตาลำบาก กระสับกระส่าย อยากเอาศีรษะไปโขกฝาบ้าน หรือบางคนบอกว่า ไม่อยากมีหัวเลย อาการเป็นนานประมาณ 1 ชั่วโมง ก็จะค่อยๆหายไปเอง เมื่อได้เวลาเดิมของวันใหม่ก็มีอาการอีกแบบเดิม ส่วนใหญ่เป็นช่วงเวลา 7-10 โมงเช้า และ 2-4 โมงเย็





วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557

Acrophobia

[Acrophobia] "โรคกลัวความสูง"




คำว่า Acrophobia ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ Acro (ความสูง เป็นศัพท์กรีก) และ Phobia (ความกลัว)

Acrophobia คือการกลัวความสูงอย่างหนัก คนที่เป็นโรคนี้อาจถูกความกลัวโจมตีเพียงแค่จากการเดินขึ้นบันไดหรือไต่บันไดเท่านั้น บางครั้งความกลัวก็มีมากจนทำให้ขยับตัวไม่ได้เลย  Acrophobia ทำให้ผู้ป่วยตกอยู่ในอันตราย เมื่อความวิตกกังวลเข้าจู่โจมอาจทำให้ผู้ป่วยพาตัวเองออกมาจากสถานที่สูงที่เป็นสาเหตุนั้นด้วยความยากลำบากอย่างมาก